โครงการผลิตบัณฑิตรังสีเทคนิค เพื่อพัฒนาบ้านเกิด ได้ประชุมกับกระทรวงสาธารณสุขและอีก 5 มหาวิทยาลัยมาเป็นเวลาเกือบ 2 ปีแล้วครับ คือ 1. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีคณะสหเวชศาสตร์ และวิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ ที่ผมเป็นเจ้าของโครงการผลิตบัณฑิตรังสีเทคนิค เพื่อพัฒนาบ้านเกิด
2. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
3. มหาวิทยาลัยนเรศวร
4. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
และ 5. มหาวิทยาลัยขอนแก่น
หลักการใหญ่ ๆ มีอยู่ 3 ประการ คือ
1. โควต้า หรือ สิทธิของการได้เรียน
2. ทุนที่ใช้เรียน
3. เวลาของการใช้ทุน
4. ตำแหน่งราชการ
มาอธิบายทีละหัวข้อเลยครับ
1. โควต้า หรือ สิทธิของการได้เรียน
จากการเปิดสอบคัดเลือกเข้าแต่ละครั้ง ในช่วงแรก มีการรับสมัครไว้เรียน 40 คน มีคนสมัคร 800 คน มาดูผลการสอบ (คะแนน) ของผู้ที่มาจากชุมชนแล้ว จะอยู่ที่ประมาณคนที่ 600 กว่าทุกที จะทำการสอบไปถึงเมื่อใด ถึงจะได้คนเหล่านี้กลับไปรับใช้ชุมชน
จึงต้องมีโครงการผลิตบัณฑิตรังสีเทคนิค เพื่อพัฒนาบ้านเกิดขึ้นมา เพื่อแยกการให้สิทธิโดยเฉพาะสำหรับคนกลุ่มนี้ ได้เข้ามาเรียน
ปัญหาต่อไป จะรับประกันอย่างไร ว่า คนกลุ่มนี้เข้ามาแล้ว เรียนจบ และจบใน 4 ปี เหมือนนักศึกษาทั่วไป และสอบใบประกอบโรคศิลปะผ่าน
ผมเลยต้องทำระบบอีเลิร์นนิง เป็นรายวิชาแต่ละวิชา เพื่อให้ผู้เรียนจากระบบนี้ ทวนซ้ำ
และทำใจแล้วว่า ให้กลุ่มนี้ ผ่าน 60 % และสอบใบประกอบโรคศิลปะได้ ก็พอใจแล้วครับ
เพราะฉะนั้น การกำหนดโควต้า ก็ต้องทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
เพื่อเอาคนในชุมชนนั้น ๆ มาเรียนและคัดเลือกตรงนั้นโดยคณะกรรมการของโรงพยาบาลชุมชนและจังหวัดในขั้นต้น และมาคัดเลือกต่อที่คณะกรรมการรวมโดยมีคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยอีกครั้ง
เพราะฉะนั้น คนที่ได้รับการคัดเลือกประมาณ 5 - 10 คน ในแต่ละโรงพยาบาล เมื่อเรียนจบแล้วก็ต้องกลับไปใช้ทุนเท่ากับเวลาที่เรียน
2. ทุนที่ใช้เรียน กระทรวงสาธารณสุข ได้มีหนังสืออนุมัติในหลักการ ให้เบิกจ่ายเงินได้ปีละ 100,000 บาท โดยผู้เรียนได้ 60,000 บาท ภาควิชา หรือมหาวิทยาลัย ได้ 40,000 บาท แต่ในความเป็นจริงแล้ว โรงพยาบาลชุมชนต้นสังกัด ไม่มีเงินจำนวนนี้อยู่ สุดท้ายก็มาตกที่ผู้ปกครองของผู้เรียน หรือมีผู้ใหญ่ใจดีในอำเภอ หรือจังหวัด สนับสนุน เงินส่วนนี้มาเรียนแทน ซึ่งอาจจะยังไม่พอค่าเทอม ที่อยู่ที่เทอมละ 45,000 บาท และค่าใช้จ่ายอีกเดือนหมื่นกว่าบาทจากค่าหอพัก ค่าอาหาร และค่าอื่น ๆ อีก
เพราะฉะนั้น ไม่ต้องฝันว่าจะมีทุนเรียนนะครับ
3. เวลาที่ใช้ทุน ก็คือ เวลาที่เรียน เรียน 4 ปี ก็ใช้ 4 ปี
4. ตำแหน่งราชการ อันนี้ต้องไปเคลียร์กันเองนะครับกับโรงพยาบาลต้นสังกัด เพราะคงไม่มีใครตั้งตำแหน่งไว้รอ 4 ปี และขณะนี้ อาจารย์ของมหาวิทยาลัยก็ไม่มีตำแหน่งราชการมานานแล้วครับ
No comments:
Post a Comment