Saturday, September 7, 2019

โครงการผลิตบัณฑิตรังสีเทคนิค  เพื่อพัฒนาบ้านเกิด  ได้ประชุมกับกระทรวงสาธารณสุขและอีก 5 มหาวิทยาลัยมาเป็นเวลาเกือบ 2 ปีแล้วครับ คือ 1. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีคณะสหเวชศาสตร์ และวิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ ที่ผมเป็นเจ้าของโครงการผลิตบัณฑิตรังสีเทคนิค เพื่อพัฒนาบ้านเกิด
2. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
3. มหาวิทยาลัยนเรศวร
4. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
และ 5. มหาวิทยาลัยขอนแก่น
หลักการใหญ่ ๆ มีอยู่ 3 ประการ คือ
1. โควต้า หรือ สิทธิของการได้เรียน
2. ทุนที่ใช้เรียน
3. เวลาของการใช้ทุน
4. ตำแหน่งราชการ
มาอธิบายทีละหัวข้อเลยครับ
1. โควต้า หรือ สิทธิของการได้เรียน
    จากการเปิดสอบคัดเลือกเข้าแต่ละครั้ง  ในช่วงแรก  มีการรับสมัครไว้เรียน 40 คน  มีคนสมัคร 800 คน มาดูผลการสอบ (คะแนน) ของผู้ที่มาจากชุมชนแล้ว  จะอยู่ที่ประมาณคนที่ 600 กว่าทุกที จะทำการสอบไปถึงเมื่อใด ถึงจะได้คนเหล่านี้กลับไปรับใช้ชุมชน
จึงต้องมีโครงการผลิตบัณฑิตรังสีเทคนิค เพื่อพัฒนาบ้านเกิดขึ้นมา เพื่อแยกการให้สิทธิโดยเฉพาะสำหรับคนกลุ่มนี้ ได้เข้ามาเรียน
ปัญหาต่อไป  จะรับประกันอย่างไร ว่า คนกลุ่มนี้เข้ามาแล้ว เรียนจบ และจบใน 4 ปี เหมือนนักศึกษาทั่วไป และสอบใบประกอบโรคศิลปะผ่าน
ผมเลยต้องทำระบบอีเลิร์นนิง เป็นรายวิชาแต่ละวิชา เพื่อให้ผู้เรียนจากระบบนี้ ทวนซ้ำ
และทำใจแล้วว่า ให้กลุ่มนี้ ผ่าน 60 % และสอบใบประกอบโรคศิลปะได้ ก็พอใจแล้วครับ
เพราะฉะนั้น การกำหนดโควต้า ก็ต้องทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
เพื่อเอาคนในชุมชนนั้น ๆ มาเรียนและคัดเลือกตรงนั้นโดยคณะกรรมการของโรงพยาบาลชุมชนและจังหวัดในขั้นต้น และมาคัดเลือกต่อที่คณะกรรมการรวมโดยมีคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยอีกครั้ง
เพราะฉะนั้น คนที่ได้รับการคัดเลือกประมาณ 5 - 10 คน ในแต่ละโรงพยาบาล เมื่อเรียนจบแล้วก็ต้องกลับไปใช้ทุนเท่ากับเวลาที่เรียน
2. ทุนที่ใช้เรียน  กระทรวงสาธารณสุข ได้มีหนังสืออนุมัติในหลักการ ให้เบิกจ่ายเงินได้ปีละ 100,000 บาท โดยผู้เรียนได้ 60,000 บาท ภาควิชา หรือมหาวิทยาลัย ได้ 40,000 บาท แต่ในความเป็นจริงแล้ว โรงพยาบาลชุมชนต้นสังกัด ไม่มีเงินจำนวนนี้อยู่ สุดท้ายก็มาตกที่ผู้ปกครองของผู้เรียน หรือมีผู้ใหญ่ใจดีในอำเภอ หรือจังหวัด สนับสนุน เงินส่วนนี้มาเรียนแทน ซึ่งอาจจะยังไม่พอค่าเทอม ที่อยู่ที่เทอมละ 45,000 บาท และค่าใช้จ่ายอีกเดือนหมื่นกว่าบาทจากค่าหอพัก  ค่าอาหาร และค่าอื่น ๆ อีก
เพราะฉะนั้น ไม่ต้องฝันว่าจะมีทุนเรียนนะครับ
3. เวลาที่ใช้ทุน ก็คือ เวลาที่เรียน เรียน 4 ปี ก็ใช้ 4 ปี
4. ตำแหน่งราชการ  อันนี้ต้องไปเคลียร์กันเองนะครับกับโรงพยาบาลต้นสังกัด  เพราะคงไม่มีใครตั้งตำแหน่งไว้รอ 4 ปี และขณะนี้ อาจารย์ของมหาวิทยาลัยก็ไม่มีตำแหน่งราชการมานานแล้วครับ

Thursday, September 5, 2019

หลังจากคิดหาวิธีช่วยโรงพยาบาลชุมชนให้มีนักรังสีการแพทย์มาทำงาน คิดไปคิดมาหลายตลบ ก็ยังไม่จบปัญหาในโครงการผลิตบัณฑิตรังสีเทคนิค เพื่อพัฒนาบ้านเกิด เปิดโครงการไปตั้งแต่ปี 2560 ทำได้แค่ 2 จุด คือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กับ โรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชาพอจะเปิด RT MOBILE LEARNING ทางภาคเหนือบนสุด กับภาคใต้ตอนกลาง ก็ยังติดปัญหาต่าง ๆ อีกมาก
แต่ก็ยังไม่ท้อ และไม่ถอยครับ
วันนี้ คุยกับ นักรังสีการแพทย์ ที่จบจากมหาวิทยาลัย แต่อยู่ในโรงพยาบาลอำเภอ เป็นผู้หญิง ต้องทำงานคนเดียว และอีกเป็นร้อยแห่งที่ไม่มีนักรังสีการแพทย์เลย และมีคนเดียวก็มาก
เลยคิดว่า เมื่อเริ่มของหนัก คือ ให้มาเรียน 4 ปีไม่ได้
ก็ต้องผ่อนสั้น ผ่อนยาว
เพราะคนเหล่านี้ บางคนจบ ป.ตรี สาขาอื่น แต่ไม่มีงานทำ ต้องมาเข็นแปล พี่นักรังสีการแพทย์ ก็ถามมาจะทำอย่างไรดี กว่าจะฝ่าด่านมาเรียน ขั้นตอนก็มาก ต้องทำงานด้วย
แล้วจะเอาระบบไหนมาสนับสนุน คนที่มีความรู้ระดับนี้ ต้องทำงานวันธรรมดา มาเรียนออนไลน์ ซึ่งระบบนี้ ต้องมีวินัยมาก เรียนจบจริง 20 % เท่านั้น คิดแล้วกลุ้มครับ
แต่พระเจ้ามาโปรด
วันนี้เกิดไอเดียใหม่แล้ว
สำหรับ โรงพยาบาลชุมชน ที่มีนักรังสีการแพทย์ คนเดียว
หรือ ไม่มีสักคน ก็ขอนักรังสีการแพทย์ โรงพยาบาลข้างเคียงเป็นพี่เลี้ยงให้ครับ

ผมจะเอาวิชาที่อยู่ในหลักสูตร ปี 3 มาทำระบบออนไลน์ แขวนไว้กับ ธรรมศาสตร์ ตลาดวิชา TU GEN NEXT ACADEMY ของฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
คือเอา RADIOGRAPHIC MODULE ประกอบด้วยวิชา
ANATOMY FOR RT (กายวิภาคศาสตร์สำหรับรังสีเทคนิค) ,
SURFACE ANATOMY (กายวิภาคพื้นผิว) ,
RADIOGRAPHIC POSITIONING (การจัดท่าสำหรับถ่ายเอกซเรย์) ,
RADIOGRAPHIC ANATOMY (รังสีกายวิภาค = ภาพที่เกิดจากการถ่ายเอกซเรย์)
TERMINOLOGY คำศัพท์ที่ต้องใช้
EXPOSURE TECHNIQUE การตั้งปริมาณรังสีสำหรับการถ่ายอวัยวะต่าง ๆ
QUALITY CONTROL IN X-RAY MACHINE การควบคุมคุณภาพของเครื่องเอกซเรย์ระดับชุมชน
เป็นวิชาที่ใช้เรียนจริงในปีที่ 3 มคอ. เป็นหลักสูตรที่สอนใน มธ. แต่มาทำเป็นออนไลน์ เพื่อช่วยสังคมให้มีมาตรฐานที่ดีเทียบเท่าโรงพยาบาลจังหวัด
ผมจะสอนผ่านออนไลน์ ในภาคทฤษฎี แต่ละสัปดาห์
และจะทำบทเรียนเป็น PDF ไฟล์ ให้ผู้เรียน นำไปให้พี่เลี้ยงที่เป็นนักรังสีการแพทย์สอนภาคปฏิบัติต่อ
โดยพี่เลี้ยงทุกคนได้อยู่ในโครงการผลิตบัณฑิตรังสีเทคนิค เพื่อพัฒนาบ้านเกิด
ให้ผู้เรียนส่งคำถามมาที่ ไลน์กลุ่ม อาจจะเป็นวันศุกร์ ตอนเย็น วันเสาร์ หรือ อาทิตย์ ตามเวลาที่กลุ่มสะดวก ผมทำวิดีโอ คอนเฟอร์เรนส์ ได้พบกับผม ตัวจริง เสียงจริง ถามทีละคน ได้เลยครับ ใครไม่ว่าง ก็เอา LINK ไว้
หลังเรียนจบ ก็จะมีการสอบเป็นวิชา ๆ ไป ใครผ่านก็ได้ประกาศนียบัตรของ มธ. ออกให้ รวบรวมมาแล้วเอามาสมัครเรียนต่อ ปริญญาตรีได้นะครับ
เรียกว่า พยายามทำของยาก ให้เป็นของง่าย ในปริมาณที่ค่อนข้างมาก
จะได้มีคนช่วยทำงานในชนบทไปด้วยครับ
ตอนนี้ โรงพยาบาลอำเภอ = โรงพยาบาลชุมชน ไม่มีคนทำงานเลยครับ เป็นอย่างนี้มาหลายสิบปีแล้วครับ บางแห่งทำคนเดียว ทำตลอด 24 ชั่วโมง น่าสงสารมากนะครับ
ผมจะเอาที่โพลต์ ลงใน
www.pichitmobilelearning.blogspot.com นะครับ
ฝากประชาสัมพันธ์ ต่อด้วยนะครับ
ใครสงสัย หรือจะสมัครเรียน ส่ง LINE มาที่ pichittri นะครับ